วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2558

ประเภทของเมฆ

 เมฆแบ่งได้เป็น 10 ชนิด ตามรูปร่างลักษณะและระดับความสูงเหนือพื้นดิน โดยที่แบ่งออกเป็น 3กลุ่มใหญ่ ได้แก่      

       1.เมฆชั้นต่ำ (Middle Clouds)ในบริเวณแถบโซนร้อนจะอยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร (6,500 - 26,000 ฟุต)เมฆที่จัดอยู่ในประเภทนี้ได้แก่
       -สเตรตัส (Stratus) 

เมฆแผ่นที่ลอยไม่สูงมากนัก มักเกิดในตอนเช้าหรือหลังฝนตก ถ้าลอยติดพื้นจะเรียกว่า“หมอก”


 -เมฆสเตรโตคิวมูลัส (Stratocumulus) 
มีสีเทา เป็นก้อนกลมเรียงติดๆ กัน ทั้งทางแนวตั้งและทางแนวนอนทำให้มองเห็นเป็นลอนเชื่อมติดต่อกันไป

       - นิมโบสเตรตัส (Nimbostratus)

เมฆสีเทา ทำให้เกิดฝนพรำและมักปรากฏสายฝนจากฐานเมฆ

       - เมฆคิวมูลัส (Cumulus)

เมฆก้อนปุกปุย สีขาวเป็นรูปกะหล่ำ ก่อตัวในแนวตั้ง เกิดขึ้นจากอากาศไม่มีเสถียรภาพ ฐานเมฆเป็นสีเทาเนื่องจากมีความหนามากพอที่จะบดบังแสงจนทำให้เกิดเงา เกิดขึ้นตอนอากาศดี ท้องฟ้าเป็นสีฟ้าเข้ม

       - คิวมูโลนิมบัส (Cumolonimbus) 

ก้อนเมฆฝนขนาดใหญ่ยักษ์ มีรูปทรงคล้ายดอกกะหล่ำและก่อตัวในแนวตั้งเช่นกัน ทำให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง หากลมชั้นบนพัดแรง ยอดเมฆจะแผ่ออกคล้ายทั่ง
   

      
       2.เมฆชั้นกลาง (Middle Clouds)อยู่ที่ความสูงระหว่าง 2,000 - 8,000 เมตร(6,500 - 26,000 ฟุต)มี 2 ชนิด คือ
       
       - อัลโตสเตรตัส (Altostratus)
เมฆสีเทาแผ่นหนาที่ปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง บางครั้งหนามากจนสามารถบดบังแสงอาทิตย์ได้
       - อัลโตคิวมูลัส (Altocumulus)
เมฆก้อนสีขาว ลอยเป็นแพห่างกันไม่มาก มีช่องว่างระหว่างก้อนเพียงเล็กน้อย มองดูคล้ายฝูงแกะ คล้ายเมฆเซอโรคิวมูลัส แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก
       
       3.เมฆชั้นสูง (High Clouds)  อยู่ที่ความสูง 6,000 - 18,000 เมตร (20,000 - 60,000 ฟุต)ขึ้นไป มี 3ชนิด ได้แก่
       
       - เซอโรสเตรตัส (Cirrostratus)
เมฆแผ่นบางๆสีขาว โปร่งแสง เป็นผลึกน้ำแข็ง มักปกคลุมท้องฟ้าเป็นบริเวณกว้าง และทำให้เกิดดวงอาทิตย์หรือดวงจันทร์ทรงกลด
       - เซอโรคิวมูลัส (Cirrocumulus)
เมฆสีขาว มีลักษณะคล้ายเกล็ดบางๆ หรือระลอกคลื่นเล็กๆ เป็นผลึกน้ำแข็ง โปร่งแสง และเรียงรายกันเป็นระเบียบ
       - เซอรัส (Cirrus)
เมฆริ้ว สีขาว โปร่งแสง และเป็นผลึกน้ำแข็ง ลักษณะคล้ายขนนกเพราะถูกกระแสลมชัดบนพัด มักเกิดขึ้นเวลาที่สภาพอากาศดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น